ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายใน

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า จักษุเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง
ไม่ควรเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ
ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆตน

หูเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง
ไม่ควรเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ
ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆตน

จมูกเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง
ไม่ควรเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ
ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆตน

ลิ้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง
ไม่ควรเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ
ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆตน

กายเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง
ไม่ควรเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ
ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆตน

ใจเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง
ไม่ควรเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ
ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆตน

อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี