องค์ประกอบของโลกและชีวิต + กำหนดรู้ธาตุ 6

โลกและองค์ประกอบของโลก คือดิน น้ำ ลม ไฟ ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ

ผลต่อเนื่องของโลกคือวัตถุสิ่งของ แผ่นดิน แผ่นน้ำ ลมฟ้าอากาศ ต้นไม้ ใบหญ้า สัตว์ บุคคล
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้น เป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ

ชีวิตและองค์ประกอบของชีวิต คือดิน น้ำ ลม ไฟ กรรมและวิญญาณ
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ

ผลต่อเนื่องของชีวิตคือรูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง นิสัยใจคอ
ความคิดความเห็น คำพูดการกระทำ ดีใจเสียใจ ไปไหนมาไหน
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้น เป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่เที่ยงเกิดดับ ดับไม่เหลือ



ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี
ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน
ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
คือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารเก่า อาหารใหม่
หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แข้นแข็ง กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่ควรเห็นสิ่งนั้น ว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดไม่ยึดมั่นถือมั่น ปฐวีธาตุได้ไม่เที่ยงเกิดดับ

อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี
ก็อาโปธาตุภายในเป็นไฉน
ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ
มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
หรือแม้แต่สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
นี้เรียกว่าอาโปธาตุภายใน ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่ควรเห็นสิ่งนั้น ว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดไม่ยึดมั่นถือมั่น อาโปธาตุได้ไม่เที่ยงเกิดดับ

วาโยธาตุ (ธาตุลม) ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือวาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี
ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน
ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ
ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
หรือแม้แต่สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆที่พัดผันไป กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่ควรเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดไม่ยึดมั่นถือมั่น วาโยธาตุได้ไม่เที่ยงเกิดดับ

เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือเตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี
ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน
ได้แก่สิ่งที่อบอุ่นถึงความเร่าร้อน กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม
ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของกิน ที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี
หรือแม้แต่สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่นถึงความเร่าร้อน กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
นี้เรียกว่าเตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นเตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่ควรเห็นสิ่งนั้น ว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดไม่ยึดมั่นถือมั่น เตโชธาตุได้ไม่เที่ยงเกิดดับ

อากาศธาตุ (ความว่าง) ก็อากาศธาตุเป็นไฉน คืออากาศธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี
ก็อากาศธาตุภายในเป็นไฉน
ได้แก่สิ่งที่ว่างปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ซึ่งเป็นทางให้กลืนของกิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม
และเป็นทางระบายของ ที่กิน ที่เคี้ยว ที่ดื่ม แล้วออกมาทางเบื้องล่าง
หรือแม้แต่สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่ว่างปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตนอาศัยตน
นี้เรียกว่าอากาศธาตุภายใน ก็อากาศธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นอากาศธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นอากาศธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ทั้งหมดเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว แล้วแตกสลาย
ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ไม่ควรเห็นสิ่งนั้น ว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา
ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายอากาศธาตุ และให้จิตคลายกำหนัดไม่ยึดมั่นถือมั่น อากาศธาตุได้ไม่เที่ยงเกิดดับ

วิญญาณธาตุ (ความรู้) ต่อจากนั้นสิ่งที่เหลืออยู่ ก็คือวิญญาณธาตุอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง
บุคคลย่อมรู้อะไรได้ด้วยวิญญาณนั้น
คือรู้ชัดว่าสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่ากำลังเสวยสุขเวทนาอยู่
เพราะผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป
ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ ที่เกิดแก่ผัสสะนั้นคือตัวสุขเวทนา
อันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนาย่อมดับไปย่อมเข้าไปสงบ
เพราะอาศัยผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่
เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแก่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนา
อันเกิดเพราะอาศัยผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาย่อมดับไป ย่อมเข้าไปสงบ
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งไม่ทุกข์ ไม่สุขเวทนา ย่อมเกิดไม่ทุกข์ ไม่สุขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวย ไม่ทุกข์ ไม่สุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่ากำลังเสวย ไม่ทุกข์ ไม่สุขเวทนาอยู่
เพราะผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งไม่ทุกข์ ไม่สุขเวทนานั้นแลดับไป
ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ ที่เกิดแก่ผัสสะนั้น คือตัวไม่ทุกข์ ไม่สุขเวทนา
อันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งไม่ทุกข์ ไม่สุขเวทนาย่อมดับไป ย่อมเข้าไปสงบ
เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้จึงลุกโพลงอยู่ได้
เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมันและไส้อื่น ย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อดับไป ฉันใดฉันนั้นเหมือนกันแล
บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่ากำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่ากำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิตเพราะตายไปแล้ว ความยินดีกันในโลกนี้แลจักเป็นของสงบ